เครือข่ายวิจัยเชิงประเด็น (เครือข่าย C) กลุ่มวิจัยและนวัตกรรม
คณะทำงาน คณะอนุกรรมการด้านการวิจัย เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
สถาบันแม่ข่าย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ประธานเครือข่าย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา
รับผิดชอบเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จำนวนทั้งสิ้น 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดยโสธร จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอำนาจเจริญ (ไม่มีสถาบันการศึกษา) สถาบันเครือข่าย จำนวน 17 สถาบัน ดังนี้
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา
มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จังหวัดนครราชสีมา
มหาวิทยาลัยราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
วิทยาลัยนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอิสเทิร์น จังหวัดอุบลราชธานี
วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา จังหวัดศรีสะเกษ
วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์ จังหวัดนครราชสีมา
วิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
วิทยาลัยชุมชนยโสธร จังหวัดยโสธร
วิสัยทัศน์ของเครือข่าย
เครือข่ายด้านการวิจัย มุ่งส่งเสริม สนับสนุนงานวิจัย เพื่อผลักดันการสร้างผลงานวิจัยถ่ายทอดองค์ความรู้งานวิจัยสู่ชุมชนและต่อยอดผลงานวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
พันธกิจของเครือข่าย
1. สร้างความร่วมมือระหว่างเครือข่ายในการสร้างผลงานวิจัยถ่ายทอดองค์ความรู้งานวิจัยสู่ชุมชนและต่อยอดผลงานวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
2. บูรณาการในการดำเนินโครงการวิจัยระหว่างสถาบันการศึกษา
3. สร้างวัฒนธรรมในการทำงาน เน้นความยุติธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้
วัตถุประสงค์/เป้าหมายของเครือข่าย
1. เพื่อกำหนดแผนงาน การบริหารจัดการงานวิจัยของเครือข่ายให้สอดคล้องกับนโยบาย และแผนงานวิจัยของมหาวิทยาลัยและประเทศ
2. เพื่อบริหารงบอุดหนุนการวิจัยจาก สกอ. รวมถึงติดตามประเมินผลโครงการวิจัย เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตรงตามวัตถุประสงค์ และเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
3. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานวิจัยเพื่อให้การดำเนินงานวิจัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และต่อเนื่อง
4. เพื่อผลักดันให้เกิดการสร้างผลงานวิจัย การเผยแพร่องค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน และการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยมีประสิทธิภาพสูงสุด
5. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา รวบรวม แลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศทางด้านการวิจัย ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานวิจัยในรูปแบบต่างๆ และจัดเวทีวิชาการเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มประสิทธิภาพการทำวิจัยให้แก่นักวิจัย
กลยุทธ์และมาตรการการดำเนินงานของเครือข่าย
1. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านการวิจัย โดยมีผู้แทนของแต่ละสถาบันการศึกษาในเครือข่าย
2. การประชุมคณะอนุกรรมการด้านการวิจัยเพื่อหารือ แลกเปลี่ยน และรับฟังความคิดเห็นของผู้แทนสถาบันการศึกษาในเครือข่าย ก่อให้เกิดความสามัคคีและความร่วมมือกันระหว่างสถาบัน
3. การจัดอบรม/สัมมนา ให้ความรู้ แก่นักวิจัยเพื่อพัฒนาและเชื่อมโยงนักวิจัยแต่ละสถาบันได้มีโอกาสทำงานร่วมกันในแต่ละพื้นที่
4. เปิดโอกาสให้นักวิจัยรุ่นใหม่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักวิจัยอาวุโส ก่อให้เกิดการพัฒนานักวิจัยใหม่และทำงานร่วมกัน
5. มีการจัดสรรทุนอุดหนุนโครงการวิจัยโดยการเฉลี่ยให้นักวิจัยในสถาบันเครือข่ายอย่างเท่าเทียมเน้นความยุติธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ รวมถึงติดตามการดำเนินงานโครงการวิจัยเป็นระยะๆ