จรรยาบรรณนักวิจัย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้กำหนด "จรรยาบรรณอาจารย์" เพื่อเป็นแนวทางแก่อาจารย์ในการประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง ผู้ร่วมงาน ต่อศิษย์ ต่อมหาวิทยาลัยและต่อสังคม อันจะส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งมาตรฐาน และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ ตลอดจนถึงเกียรติภูมิของมหาวิทยาลัย จรรยาบรรณอาจารย์ดังกล่าวครอบคลุมถึงการดำเนินงานด้านการวิจัย โดยกำหนดไว้ว่า รับผิดชอบต่องานวิจัย ผู้ร่วมวิจัย และการเผยแพร่ผลงานวิจัยในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการ มหาวิทยาลัย และสังคม ในทางปฏิบัติมหาวิทยาลัยยังได้กำหนดให้คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยยึดถือปฏิบัติ ตามจรรยาบรรณนักวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติอีกด้วย จรรยาบรรณนักวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติกำหนดไว้ดังนี้
1. นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ
2. นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทำงานวิจัยตามข้อตกลงที่ทำไว้กับหน่วยงานที่สนับสนุนการวิจัย และต่อหน่วยงานที่ตนเองสังกัด
3. นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัย
4. นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต
5. นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์และสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย
6. นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด โดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการทำวิจัย
7. นักวิจัยพึงนำผลวิจัยไปใช้ในทางที่ชอบ
8. นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น
9. นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ
2. นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทำงานวิจัยตามข้อตกลงที่ทำไว้กับหน่วยงานที่สนับสนุนการวิจัย และต่อหน่วยงานที่ตนเองสังกัด
3. นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัย
4. นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต
5. นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์และสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย
6. นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด โดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการทำวิจัย
7. นักวิจัยพึงนำผลวิจัยไปใช้ในทางที่ชอบ
8. นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น
9. นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ